Home – SDGs for All

A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC

Watch out for our new project website https://sdgs-for-all.net

เหล่าผู้นำแปซิฟิกรับรอง ‘แผนยุทธศาสตร์ 2050 ของมหาสมุทรแปซิฟิก’

share
tweet
pin it
share
share

ให้คำมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนาที่มี “ความรับผิดชอบ”

โดย Sera Tikotikovatu-Sefeti

SUVA, Fiji (IDN) — ผู้นำแปซิฟิกได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกในรอบเวลาสามปี ได้รับรอง แผนยุทธศาสตร์ 2050 สำหรับมหาสมุทรแปซิฟิกที่องค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิกครั้งที่ 51 (PIF) ตั้งแต่ 11 กรกฎาคมถึง 14 กรกฎาคม

Josaia Voreqe Bainimaram นายกรัฐมนตรีฟิจิซึ่งเป็นประธานการชุมนุม PIF ได้กล่าวว่า “ความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์นี้ขึ้นอยู่กับสองสิ่ง ประการแรกผู้นำต้องรับผิดชอบ และประการที่สอง ประชาชนต้องรับผิดชอบด้วย”

แผนยุทธศาสตร์มุ่งเน้นไปที่เจ็ดประเด็นหลัก: ความเป็นผู้นำทางการเมืองและภูมิภาค การพัฒนาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง สันติภาพและความมั่นคง ทรัพยากรและการพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ  มหาสมุทรและสิ่งแวดล้อม และอย่างสุดท้ายคือเทคโนโลยีและการเชื่อมโยง

แผนยุทธศาสตร์นี้ใช้เวลาเกือบสามปีในการวางแผนและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมถึงองค์กรภาคประชาสังคมทั่วภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ แผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้อย่างรอบคอบนี้เน้นย้ำประเด็นสำคัญบางประการที่เป็นปัญหารวมถึงแนวทางปฎิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าจะเผยแพร่สู่สังคม

คำว่า “ภูมิภาคนิยม” มักถูกใช้ในระหว่างงานกล่าวถึงการมีอยู่ทางภูมิศาสตร์การเมืองของทางต่างประเทศและประเด็นเร่งด่วนอื่นๆ  ที่จำเป็นต้องมีแนวร่วมที่รวมกันทั้งภูมิภาคจากผู้นำในแปซิฟิก

“การถอยเป็นโอกาสอันยอดเยี่ยมสำหรับการอภิปราย โต้แย้ง และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอันเร่งด่วนที่ไม่สามารถถูกอภิปรายในที่สาธารณะได้” นาย Fiame Naomi Mataáfa นายกรัฐมนตรีประเทศซามัวกล่าวสะท้อนถึงความสำคัญในการเจรจาแบบตัวต่อตัว

การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

ตามที่นาย Josaia Osbourne รองคณะกรรมการบริหารของสมาคมหมู่เกาะแปซิฟิกขององค์กรนอกภาครัฐ (PIANGO) ระบุว่าสมาชิกของชุมชนองค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมระหว่างขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ “เราได้ถูกเข้าร่วมในการอภิปรายในช่วงสามปีที่ผ่านมา และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนยุทธศาสตร์นี้จะใช้ได้หากพวกเราทำงานร่วมกัน” เขาได้กล่าวกับ IDN

Osbourne ได้เห็นสัญญาณเชิงบวกเมื่อผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนได้มีพื้นที่บนโต๊ะแห่งการตัดสินใจเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้แน่ใจว่าแผนงานต่างๆ  จะถูกส่งไปยังสมาชิกของชุมชน

ในการเปิดตัวของ แผนยุทธศาสตร์ 2050 ของทวีปในมหาสมุทรแปซิฟิก  Bainimarama ได้กล่าวไว้ว่า ” เป็นเรื่องในอดีดและแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับอนาคตของเรา” นี่คือการทำงานร่วมกันในฐานะชุมชน ประเทศ หรือในฐานะทวีปในมหาสมุทรแปซิฟิกอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “แผนยุทธศาสตร์ 2050 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรามีร่วมกัน ความท้าทายของเราและรวมถึงโอกาสของพวกเราด้วย” เขากล่าวเสริม

แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยคนเชิงยุทธศาสตร์มีแผนที่ครอบคลุมเพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์ที่ถูกเสนอ (ได้รับการรับรองแล้วตอนนี้) สามารถเชื่อมโยงกับงานที่ถูกกำหนดไว้แล้วได้ โดยจะพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันรอบๆ หัวข้อต่างๆ เพื่อดูว่ามีการริเริ่ม แผน ประเด็น และการแก้ปัญหาแนวทางใดบ้าง นี่จะถูกติดตามด้วย 5 แผนเส้นทางยุทธศาสตร์ที่รวมถึงการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ; ความยืดหยุ่นและความเป็นอยู่ที่ดี; การศึกษา; การค้นคว้าและเทคโนโลยี; การควบรวม; และความเท่าเทียมและธรรมาภิบาล ท้ายที่สุด จะถูกมองถึงระดับจุดมุ่งหมายที่ได้คาดหวังไว้จากในแต่ละหัวข้อ

Joel Nilon ที่ปรึกษาภูมิภาคนิยมขององค์กรการประชุมแปซิฟิก ได้เน้นย้ำว่าหัวใจของพื้นที่เหล่านี้คือมหาสมุทรและเราที่อาศัยอยู่โดยถูกห้อมล้อมด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกสีฟ้านี้

“ยุทธศาสตร์ 2050 สำหรับทวีปแปซิฟิกสีฟ้านี้เกิดขึ้นจากความต้องการของเราเพื่อตอบสนองเชิงกลยุทธ์และระยะยาวมากขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทาต่อยสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา” Nilon ได้กล่าวกับ IDN.

“เป็นการตอบสนองต่อการเรียกร้องของผู้นำในปี 2019 ให้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความท้าทายที่มีอยู่ รวมถึงการทวีความรุนแรงในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคของเรา” เขาได้กล่าวเสริม

ตามที่ Nilon ผู้ดำเนินการที่ไม่ใช่ภาครัฐ เช่น ภาคประชาสังคมระหว่างประเทศในภูมิภาค ภาคเอกชน และสมาชิก CROP (สภาองค์กรระดับภูมิภาคแห่งแปซิฟิก) ได้ช่วยแนะนำพัฒนากลยุทธ์

แนวทางใหม่ที่เน้นผู้คนเป็นศูนย์กลางอาจเป็นคำตอบให้แน่ใจว่าสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการร่างแผนยุทธศาสตร์นี้ ว่าจะเป็นเจ้าของและรับรองว่ามีการบังคับใช้และติดตาม ดังนั้น ตามที่เลขาธิการแห่ง การประชุมคริสตจักรในแปซิฟิก the Rev. James Bhagwan “เป็นสิ่งสำคัญอย่างเหลือเชื่อที่กลยุทธ์นี้ได้ผล นี้เป็นครั้งแรกที่เรามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ และเรารู้ว่าจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทุกๆ คนทำงานร่วมกันและมีส่วนร่วม”

Nilon ได้สะท้อนถึงบทความนี้ “สิ่งสำคัญคือเราต้องร่วมมือกันและทำงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น” เขากล่าว “เรามีจุดแข็งมากมาย คนของเรา เยาวชนของเรา วัฒนธรรมของเราทำให้มีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติและการคุ้มครองทางสังคม และเรามีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ”

ยุทธศาสตร์ 2050 ทวีปมหาสมุทรแปซิฟิกสีฟ้าได้ถูกรับรองและรับการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบโดยผู้นำระดับภูมิภาค และผู้ดำเนินการนอกภาครัฐหลายคนได้วางแผนดำเนินการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

“และภายในบริบทนี้ เราจำเป็นต้องมีแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อทำงานร่วมกัน วิธีความร่วมมือในฐานะประเทศต่างๆ และ แน่นอน ว่าเราจะมีปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไร” Nilon ได้กล่าวไว้ [IDN-InDepthNews – 22 กรกฎาคม 2022]

ภาพถ่าย: รองประธานเฟรนช์พอลินีเชีย – Jean Christophe Bouissou (ซ้าย) เลขาธิการการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก Henry Puna (กลาง) และนายกรัฐมนตรีประเทศนิวซีแลนด์ Jacinda Arden(ขวา) เพลิดเพลินกับช่วงเวลาเบาๆ หลังจากการนำเสนอคำแถลงสุดท้ายจากการประชุม PIF เครดิต: Sera Tikotikovatu-Sefeti

NEWSLETTER

STRIVING

MAPTING

PARTNERS

Scroll to Top