Home – SDGs for All

A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC

Watch out for our new project website https://sdgs-for-all.net

เมียนมาอาจสามารถเรียนรู้จากศรีลังกาในด้านการแก้ปัญหา “เบงกาลี”

share
tweet
pin it
share
share

โดย Jayasri Priyalal*

สิงคโปร์ (IDN) – วิกฤติโรฮีนจาและการไหลทะลักของผู้ลี้ภัยไปยังบังกลาเทศเป็นเรื่องพาดหัวข่าวในสื่อในปัจจุบันนี้ ในฐานะที่เป็นชาวศรีลังกา ฉันสามารถสังเกตถึงความคล้ายคลึงกันของความขัดแย้งของการไร้สัญชาติซึ่งเกิดขึ้นในศรีลังกาเมื่อก่อนและในเมียนมาในปัจจุบันนี้ และวิธีการแก้ไขปัญหาของศรีลังกากับอินเดียสามารถเป็นเค้าโครงให้เมียนมาทำตามได้

ในปี 1948 เมื่อศรีลังกาได้รับอิสรภาพจากสหราชอาณาจักร ในชาติที่เป็นเกาะนี้มีชาวทมิฬซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ชาวทมิฬอินเดีย” ประมาณหนึ่งล้านคนหลงเหลืออยู่ในศรีลังกา พวกเขาถูกนำตัวมายังศรีลังกาจากอินเดียใต้จากกลุ่มวรรณะจัณฑาลเพื่อมาทำงานในไร่ชาซึ่งก่อตั้งบนพื้นที่ที่ชาวอังกฤษได้ยึดจากชาวไร่ชาวนาชาวสิงหลซึ่งปฏิเสธที่จะทำงานในไร่สวนเหล่านั้น ดังนั้นการมาถึงของชาวทมิฬจึงได้สร้างความไม่พอใจให้ชาวสิงหล ชาวอังกฤษได้สร้างชุมชนของคนไร้สัญชาติซึ่งไม่ใช่ทั้งประชากรอินเดียหรือศรีลังกา

การไร้สัญชาติจึงได้สร้างความสิ้นหวังและความไร้กำลังต่อทุกคนไม่ว่าเขาจะมีสถานะทางเศรษฐกิจของอย่างไร ความไม่แน่นอนที่เกิดจากสถานการณ์เช่นนี้ได้นำความทุกข์ทรมานที่ไม่อาจบอกกล่าวได้มายังผู้ที่ตกอยู่ในความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ยากจนและอนาถาดังที่เห็นในสถานการณ์ที่ตึงเครียดระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศ

สื่อรายงานว่ากองทัพเมียนมาอยู่เบื้องหลังความโหดร้ายทั้งหมดซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงซึ่งมุ่งเป้าไปยังชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ รัฐบาลเเมียนมาตอบสนองโดยการอ้างว่าพวกเขาเป็นพวกหัวรุนแรงมุสลิมที่มีชื่อเรียกว่ากองทัพ Arkhine Rohingya Salvation Army (ARSA) ซึ่งทำร้ายตำรวจใน 35 แห่งและค่ายทหารหนึ่งแห่งในชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2017 ในวันที่คณะกรรมการที่ปรึกษาของรัฐยะไข่ซึ่งมี โคฟี แอนนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติเป็นหัวหน้ามีแผนการที่จะเปิดเผยรายงานระหว่างกาล ตามที่กล่าวอ้างโดยรัฐบาลเมียนมา การปราบปรามของทหารเริ่มต้นขึ้นเพื่อปกป้องประชาชนทั้งหมดในยะไข่ ซึ่งรวมถึงชาวเบงกาลีที่อาศัยอยู่ในสภาพที่น่าสมเพชภายใต้ความรุนแรงทุกรูปแบบ

สื่อและกลุ่มล็อบบี้ได้ตำหนิ ออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่าซึ่งไม่ดำเนินการใด ๆ ในการป้องกันการ ‘ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ ตามที่ได้รับการบันทึกในตำราเรียน คำตำหนิและการวิจารณ์เป็นสองกระบวนการที่โดยปกติแล้วใช้เพื่อเรียกร้องความสนใจและทำให้เรื่องราวเป็นปัญหา เพื่อทำให้เรื่องราวน่าสนใจในการตีพิมพ์เป็นข่าวและดึงดูดความสนใจเพื่อเรียกร้องความเห็นใจของสาธารณะ แต่ผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างวิธีการทางด้านอารมณ์และเหตุผลเพื่อหาวิธีการแก้ไขที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาที่มีรากมาจากการปกครองแบบอาณานิคม

หากสังเกตถึงระยะเวลาของการโจมตีของ ARSA นอกเหนือจากการเปิดตัวรายงานของโคฟี แอนนัน ยังมีการเยือนเมียนมาของนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทระ โมทีและแคมเปญของสื่อระหว่างประเทศในการต่อต้านนางซูจีที่ไม่ตอบสนองและดำเนินการใด ๆ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาก่อนหน้าการเยือนเพื่อแสดงปาฐกถาในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ผู้ที่วิจารณ์เธอและกลุ่มล็อบบี้ด้านสิทธิมนุษยชนต่างตำหนิเธอที่เธอยังคงไม่ปริปากในขณะที่ที่ปรึกษาแห่งรัฐไม่ตอบสนองต่อความกดดันใด ๆ

ในประวัติศาสตร์นั้น มีการแบ่งแยกที่น่าอับอายสามครั้งในศตวรรษที่ 20 โดยผู้ครองอาณานิคมที่เป็นต้นเหตุของการแข่งขันและการก่อการร้ายที่ส่งผลให้เกิดสงครามและความทุกข์ทรมานของมนุษยชาติที่มิอาจเล่าได้จนกระทั่งถึงวันนี้ หนึ่ง: การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานเมื่อ 15 สิงหาคม 1947 สอง: การแบ่งแยกเมื่อ 15 พฤษภาคม 1948 ระหว่างชาวอาหรับและชาวยิวและการก่อตั้งรัฐอิสราเอล สาม: การแบ่งแยกของพม่าจากอินเดียในปีเดียวกัน (1948) นี่คือประวัติศาสตร์

การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์การเมืองเหล่านี้สร้างความยากลำบากในการแบ่งแยกอย่างมากมาย พร้อมทั้งความรู้สึกของการไร้สัญชาติและการขาดความเป็นเจ้าของในกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ภายในเขตแดนที่รายล้อมด้วยความขัดแย้ง โดยบ่อยแล้ว ความเชื่อในตำนาน ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือนถูกใช้เพื่ออ้างว่าการแบ่งแยกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและทำให้เกิดการล็อบบี้ความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อให้เหตุผลของความลำบากในด้านอิสรภาพและเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ศรีลังกา (ซีลอนในขณะนั้น) และเมียนมา (พม่าในขณะนั้น) จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของการมอบสัญชาติให้แรงงานตามสัญญาซึ่งถูกพาเข้ามาในฐานะแหล่งแรงงานราคาถูกเพื่อทำงานในไร่สวนที่ก่อตั้งโดยชาวอังกฤษระหว่างการปกครองแบบอาณานิคม

แรงงานตามสัญญาเป็นวิธีการทางเลือกในการแทนที่แรงงานทาสโดยผู้ครองอาณานิคมที่ดำเนินการอย่างเป็นมืออาชีพ โดยการนำตัวครอบครัวของแรงงานหรือที่เรียกว่า “Coolies” และให้พวกเขาเซ็นสัญญาที่เขียนในภาษาอังกฤษและให้พวกเขายินยอมโดยการลงลายนิ้วมือ ไม่มีใครในกลุ่มนั้นทราบว่ามีอะไรเขียนอยู่ในสัญญา พวกเขาได้รับการรับประกันว่าจะมีงานแต่ไม่ทราบว่าพวกเขาจะเดินทางไปที่ใดและจะออกเดินทางเมื่อใด

แรงงานหลาย ๆ คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียไม่ทราบเลยว่าพวกเขาจะไม่ได้กลับบ้านและกลายเป็นพลเมืองไร้สัญชาติในสถานที่ที่ห่างไกล เช่น ในหมู่เกาะแคริบเบียน เช่น ฟิจิ โดยทำงานในไร่อ้อย หรือในสถานที่ใกล้ ๆ เช่น พม่าหรือซีลอน กลุ่มของแรงงานตามสัญญาเหล่านี้ได้เพิ่มสองคำในภาษาทมิฬที่ขึ้นต้นด้วยตัว ‘C’ ไปยังภาษาอังกฤษ สองคำนี้คือ CURRY และ COOLIES โชคดีที่ได้มีการแก้ไขปัญหาการไร้สัญชาติในหลาย ๆ เขตเศรษฐกิจไร่สวนของอาณานิคมเหล่านี้ แต่ยังมีความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่เพื่อแสวงหาอำนาจทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่

สถานการณ์ด้านการไร้สัญชาติของแรงงานตามสัญญาชาวอินเดียที่ทำงานในไร่สวนชาในศรีลังกาได้รับการแก้ไขในปี 1964 โดยข้อตกลงระหว่าง Lal Bahadur Shastri นายกรัฐมนตรีอินเดียและ Sirimavo Bandaranaike นายกรัฐมนตรีศรีลังกาในขณะนั้น ทั้งสองประเทศตกลงที่จะรับพลเมืองที่ไร้สัญชาติผ่านทางการส่งกลับและมอบสัญชาติ ปัญหาด้านการไร้สัญชาติได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ก่อนปี 1980 แต่ในศรีลังกา ยังมีหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชนกลุ่มชายขอบเหล่านี้ในไร่สวน

เช่นเดียวกัน บังกลาเทศและเมียนมาได้บรรลุข้อตกลงในปี 1993 แต่รัฐบาลบังกลาเทศพบความยากลำบากในการทำงานร่วมกับรัฐบาลทหารเผด็จการในเมียนมา เราควรยินดีกับคำแถลงที่กล่าวโดยนางซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมาระหว่างการปาฐกถาของเธอเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2017 ซึ่งบ่งบอกถึงการรับชุมชนโรฮีนจาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับไปยังรัฐยะไข่

เช่นเดียวกัน ควรมีการให้เครดิตต่อนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ ชีค ฮาสินา สำหรับการต้อนรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อชาวโรฮีนจาและมอบการสนับสนุนและการดูแลต่อผู้ลี้ภัยซึ่งอาศัยอยู่ในค่ายชั่วคราวใน Cox Bazar ภายใต้สภาพที่ยากลำบาก

ดังนั้น องค์กรระหว่างประเทศควรกระตุ้นให้รัฐบาลทั้งในบังกลาเทศและเมียนมาแก้ไขปัญหาผ่านการสนทนาและการหารือ เช่นเดียวกับที่อินเดียและซีลอนกระทำในข้อตกลงในปี 1964

การแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงเป็นวิธีการสนับสนุนการก่อการร้ายจากทั้งสองฝ่ายนั้นจะส่งผลร้าย เนื่องจากปัญหานี้จะสร้างความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในด้านความเชื่อทางศาสนาและชุมชน เราต้องมองว่านี่คือปัญหาในการมอบมนุษยธรรมให้แก่การไร้สัญชาติและความหมดหวังที่ทำให้เกิดสภาพเศรษฐกิจที่ยากจน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันนี้คือชะตากรรมของผู้ลี้ภัยที่เดินทางข้ามเขตแดนแอฟริกาเพื่อไปยังยุโรปในฐานะผู้อพยพ

การวินิจฉัยปัญหาอย่างถูกต้องนั้นเป็นครึ่งหนึ่งของการแก้ปัญหา หากว่ามีการพบสาเหตุและผลลัพธ์ที่ได้รับการสนับสนุนโดยข้อเท็จจริง สตรีซึ่งมีอำนาจทั้งสองท่านในบังกลาเทศและเมียนมามีความสามารถในการหาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่พร้อมทั้งวิธีที่สมเหตุสมผลในการสร้างสันติสุขและความเจริญอย่างยั่งยืนในประเทศของตน สิ่งที่จำเป็นนั้นคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนและไม่นำไปสู่การกระทำโดยใช้อารมณ์หรือปฏิกิริยาที่กระพือการแบ่งแยกโดยอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา

*ผู้เขียนเป็นผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านการเงิน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร UNI Global Union Asia-Pacific ในสิงคโปร์ [IDN-InDepthNews – 25 กันยายน 2017]

ภาพ: ค่ายผู้ลี้ภัย Kutupalong ใน Cox’s Bazar บังกลาเทศ ค่ายนี้เป็นหนึ่งในสามค่ายที่ชาวโรฮีนจามากถึง 300,000 คนซึ่งหนีความรุนแรงระหว่างชุมชนในพม่าอาศัยอยู่ เครดิต: วิกิมีเดียคอมมอนส์

 

NEWSLETTER

STRIVING

MAPTING

PARTNERS

Scroll to Top