Home – SDGs for All

A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC

Watch out for our new project website https://sdgs-for-all.net

ผู้นำทางศรัทธามีบทบาทสำคัญต่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ

share
tweet
pin it
share
share

โดย Jaya Ramachandran

เจนีวา (IDN) – ตัวแทนขององค์กรที่มีรากฐานทางความศรัทธา (FBO) ตัวแทนจากสหประชาชาติ NGO และสถาบันการศึกษาได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการทำให้ชุมชนทางศรัทธาในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ โดยรับฟังและพิจารณาถึงความคิดเห็นต่อผู้หญิงที่มักได้รับผลกระทบอันเลวร้ายที่สุดเป็นพิเศษ

การอภิปรายแบบโต๊ะกลมก่อนหน้าวันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศในวันที่ 13 ตุลาคมยังได้ร้องขอต่อการสนับสนุนต่อชุมชนทางศรัทธาในท้องถิ่นด้วยการจัดกิจกรรมลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (DRR) และเพิ่มการสนับสนุนของ FBO โดย ‘การใช้’ ทุนทางจิตวิญญาณของพวกเขา

นอกจากนี้ การอภิปรายแบบโต๊ะกลมยังได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างแข็งขันในการกำจัดความเชื่อที่ฝังรากลึกว่าภัยพิบัตินั้นเป็นการลงโทษของพระเจ้า ยืนยันว่าจะมีการเตรียมสถานที่สำหรับการบูชาเพื่อตอบสนองต่อภัยพิบัติ ปรับปรุงบทบาทของผู้นำศรัทธาให้กลายเป็นผู้สื่อสาร

การอภิปรายดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคมที่ Ecumenical Centre ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย Soka Gakkai International (SGI), Joint Learning Initiative on Faith & Local Communities (JLIF&LC) และ World Council of Churches (WCC) โดยมีหัวข้อสำคัญคือ ‘การสนับสนุนของ FBO ต่อกรอบการทำงานเซนไดสำหรับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ’

กรอบการทำงานเซนไดสำหรับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (กรอบการทำงานเซนได) นั้นเป็นข้อตกลง 15 ปี (2015-2030) ที่เกิดขึ้นจากความสมัครใจและไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหลังจากการประชุมโลกของสหประชาชาติครั้งที่สามในปี 2015 เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (WCDRR) มันมีเป้าหมายในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการเสียชีวิต การดำรงชีวิตและสุขภาพ และในด้านสินทรัพย์ทางเศรษฐศาสตร์ กายภาพ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของบุคคล ธุรกิจ ชุมชนและประเทศให้ได้เป็นอย่างมาก

Denis McLean จากสำนักงานการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของสหประชาชาติ (UNISDR) กล่าวว่าเครือข่ายที่มีรากฐานจากความศรัทธานั้นเป็น ‘ทุนทางจิตวิญญาณ’ ที่ประเมินค่าไม่ได้ เขาจำได้ว่าระหว่างช่วงพายุไต้ฝุ่นซึ่งทำให้ผู้คน 6000 คนเสียชีวิตในเดือนธันวาคมปี 2013 ในตักโลบัน ประเทศฟิลิปปินส์นั้น องค์กรด้านความศรัทธาเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักเพื่อทำให้บุคคลได้รับความเข้มแข็งตามที่จำเป็นเพื่อรับมือกับการสูญเสียของพวกเขา

Jose Riera-Cezanne จากหน่วยงานลี้ภัยของสหประชาชาติ UNHCR เน้นย้ำว่าบทบาทของผู้นำศรัทธา สถาบันทางศาสนาและ FBO ในการเสริมความยืดหยุ่นระหว่างการเผชิญหน้าต่อความยากลำบากและความทุกข์ยากนั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในชุมชนของผู้มีมนุษยธรรม

ในความจริงแล้ว ผู้ปฏิบัติการทางศาสนามักยินดีที่ได้รับความเชื่อถือเป็นพิเศษ พวกเขาสื่อสารไปยังหัวใจและจิตใจของผู้คน และสามารถเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมได้ พวกเขายังมีส่วนร่วมด้านสวัสดิการของประชาชนในสถานที่ที่สถาบันการศึกษาแห่งชาติและการบริการจัดส่งนั้นทำงานได้ไม่ดีพอ โบสถ์ มัสยิดและสถานที่เพื่อการบูชาอื่น ๆ มักทำหน้าที่เป็นสถานที่สนทนาซึ่งผู้คนจะพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนคิดและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ทั้งชุมชนให้ความสนใจ

Riera-Cezanne กล่าวว่าสำนักงาน UNHCR ได้ร่วมพันธมิตรกับ NGO ผู้ให้บริการที่มีรากฐานทางความศรัทธาหรือได้รับแรงบันดาลใจจากความศรัทธา ชุมชนความศรัทธาในท้องถิ่นและผู้นำทางศาสนา มีความเป็นไปได้ว่าการร่วมมือนี้จะพัฒนายิ่งขึ้นในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งปี 2030

คำถามหลักสำหรับพันธมิตรของสหประชาชาติคือเราจะสามารถทำความเข้าใจต่อทรัพยากรที่องค์กรเหล่านี้นำเสนอ – ไม่ว่าจะเป็นทางมนุษย์ การเงินและจิตวิญญาณ – ให้ดีขึ้นและได้รับการใช้งานโดยผู้คนทั้งหมดที่ทำงานเพื่อให้บริการต่อชุมชนเดียวกันนั้นได้อย่างไร

ขีดจำกัดที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือกับผู้ปฏิบัติการด้านความเชื่อหากมีการล้ำเส้นนั้นประกอบไปด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การเป็นปรปักษ์ต่อสมาชิกที่มีพื้นเพความเชื่ออื่น ๆ หรือการแปลกแยกบุคคลเหล่านั้น การปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงต่อบุคคลหรือชุมชนที่มีความเชื่ออื่น การเปลี่ยนเป็นสาวกหรือการกดดันให้เปลี่ยนศาสนาเพื่อเป็นเงื่อนไขล่วงหน้าต่อการได้รับการสนับสนุนต่อไป การแต่งงานในวัยเยาว์ มุมมองตายตัวทางเพศ ความอัปยศและการแบ่งแยก

การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในตะวันออกกลางได้ส่งให้เกิดทั้งความสนใจและความกังวลเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้นำศรัทธา องค์กรทางศรัทธาและชุมชนทางศรัทธาท้องถิ่นในการมอบการปกป้องและความช่วยเหลือให้แก่ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัย กล่าวโดย Riera-Cezanne

ในความเป็นจริง สิ่งนี้ทำให้ António Guterres ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติในขณะนั้นซึ่งจะรับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติได้อุทิศการสนทนาประจำปีของเขาต่อความท้าทายด้านการปกป้องในปี 2012 โดยมีหัวข้อว่า “ความเชื่อและการปกป้อง”

Dinesh Suna จากเครือข่ายน้ำทั่วโลก (EWN) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของสภาโบสถ์ทั่วโลกได้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีของ CASA (การส่งเสริมของโบสถ์สำหรับกิจกรรมด้านสังคม สมาชิกของกลุ่มพันธมิตร ACT และ WCC) ในปี 1999 พายุซูเปอร์ไซโคลนได้กระหน่ำ Orissa และผู้คนมากกว่า 10,000 คนเสียชีวิต CASA ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติของชุมชนและการบรรเทาผลกระทบและมีบทบาทในเชิงรุกด้านการสร้างความตระหนักในชุมชน

Christophe Arnold แห่งพันธมิตร ACT อธิบายถึงบทบาทที่ผู้นำศรัทธาได้มีส่วนร่วมในการตอบสนองต่ออีโบลา ระหว่างช่วงวิกฤตดังกล่าว หนึ่งในความท้าทายหลักคือความรู้สึกอัปยศที่มากเป็นอย่างยิ่งและความกลัวที่จะได้รับข้อความของแพทย์ ผู้คนไม่เชื่อในองค์กรของพวกเขาและยังใช้วิธีการฝังศพแบบเดิมซึ่งทำให้อีโบลาแพร่กระจายได้ง่ายยิ่งขึ้น

Olivia Wilkinson แห่งJLIF&LC ได้แบ่งปันข้อมูลตามหลักฐานเกี่ยวกับชุมชมทางศรัทธาท้องถิ่น (LFCs) และการมีส่วนร่วมทางศาสนาในการตอบสนองด้านมนุษยธรรม LFC เอาชนะปัญหานี้โดยการสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายชุมชนที่มีอยู่แล้วของพวกเขาและความสามารถของพวกเขาในการใช้ความรู้สึกของชุมชนเพื่อสร้างความยืดหยุ่น

Wilkinson กล่าวว่า บริบททางจิตวิญญาณของภัยพิบัตินั้นไม่ควรถูกเพิกเฉยเพราะว่ามันเป็นส่วนสำคัญในการเข้าใจการรับรู้ความเสี่ยง เมื่อมีส่วนร่วมกับชุมชนทางศรัทธาท้องถิ่น เราอาจสามารถเข้าใจมุมมองเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้นและช่วยเน้นย้ำความเกี่ยวข้องและความเหมาะสมของการลดความเสี่ยงของภัยพิบัติได้มากยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ในฟิลิปปินส์ การอบรมนักเทศน์ในด้านความพร้อมและการลดความเสี่ยงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเอาชนะความรู้สึกที่อ่อนแอ หลังจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน นักเทศน์ท้องถิ่นหลายคนได้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำการเตรียมความพร้อมและความพยายามในการลดความเสี่ยงในชุมชนท้องถิ่นของพวกเขา การอบรมนี้เป็นการสะท้อนถึงความคิดของพวกเขาพร้อมทั้งความรู้ทางด้านเทคนิคจาก DRR การเรียนรู้พระคัมภีร์และแรงบันดาลใจที่จะมอบการรับรู้แบบองค์รวมในด้านการลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ

Nobuyuki Asa แห่ง SGI กล่าวว่า หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ญี่ปุ่นตะวันออกในปี 2011 และแผ่นดินไหว Kumamoto ในเดือนเมษายน 2016 Soka Gakkai ในประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือผู้คนนับพันคนในศูนย์ชุมชนและมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับผู้คนเหล่านั้น รถบรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์หนึ่งคันออกจากจังหวัดใกล้เคียงไปยังพื้นที่ประสบภัยพิบัติในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหว และความพร้อมด้านการตอบสนองนั้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

สมาชิก SGI หลายคนได้อาสาสมัครเข้าร่วมในกิจกรรมบรรเทาทุกข์หลากหลายประเภทและในการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยในทั้งศูนย์ Soka Gakkai และศูนย์ชุมชมอื่น ๆ ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรายงานว่าศูนย์เหล่านี้เป็นมิตรอย่างมากเนื่องจากสมาชิก SGI ทั้งหมดให้การดูแลโดยไม่มีความแตกต่างใด ๆ

นายศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ จากพันธกิจถาวรของประเทศไทยต่อสหประชาชาติกล่าวว่าหน้าที่หลักของสังคมนั้นได้รับการเน้นย้ำ ถึงแม้ว่า FBO จะไม่ได้รับการกล่าวถึงโดยตรงในกรอบการทำงานเซนได โบสถ์ มัสยิดและวัดทางพุทธศาสนาเป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดที่มีส่วนร่วมกับชุมชนและพวกเขาสามารถปกป้องผู้คนและลดความทุกข์ได้

หลังจากผลพวงของสึนามิในมหาสมุทรอินเดียปี 2004 พระและแม่ชีของวัดทางพุทธศาสนาได้แสดงถึงความเป็นผู้นำ มอบข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลที่หายไปและวัดได้กลายเป็นสถานที่พักพิงที่มอบการบรรเทาและการสนับสนุนทางด้านจิตใจ เช่น การทำให้เข้าใจถึงชีวิตและความตายได้ดียิ่งขึ้น หลังจากแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นในปี 2011 วัดไทยใกล้สนามบินนาริตะได้มอบการสนับสนุนและยังใช้เป็นสถานที่จัดเก็บและศูนย์การแจกจ่ายอีกด้วย [IDN-InDepthNews – 09 พฤศจิกายน 2016]

 

 

NEWSLETTER

STRIVING

MAPTING

PARTNERS

Scroll to Top