Home – SDGs for All

A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC

Watch out for our new project website https://sdgs-for-all.net

Collage of the mass grave at the Killing Field of Choeung Ek with the leader of the Killing Fields on the left. Source: Wikimedia.

การเสียชีวิตของผู้นำแห่ง “ทุ่งสังหาร” ก่อให้เกิดการตั้งคำถาม

share
tweet
pin it
share
share

มุมมองจากโจนาธาน พาวเวอร์*

สำนักข่าว IDN เมืองลุนด์ ประเทศสวีเดน รายงานว่า หนึ่งในชายที่อำมหิตที่สุดเท่าที่เคยมีมา เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมาในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา นายคัง เก็ก เอียว หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สหายดุช” เสียชีวิตในวัย 77 ปี เขาถูกศาลอาชญากรรมสงครามร่วม
ของสหประชาชาติและกัมพูชาตัดสินจำคุกฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยเป็นเพียง คนเดียวจากจำเลยทั้งห้าคนที่ยอมรับว่าตนก่ออาชญากรรม ซึ่งในการพิจารณาคดีเมื่อเดือน กรกฎาคมปี 2553 ที่คัง เก็ก เอียว ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ผมก็ได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย

จากข้อมูลของเซ็ธ เมแดนส์ ผู้สื่อข่าวของ New York Times ในกัมพูชาระบุว่า ช่วงที่กัมพูชา ปกครองโดยพอล พต ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งการเคลื่อนไหวแบบกองโจรที่เรียกว่าเขมรแดง “คัง เก็ก เอียว เป็นครูในโรงเรียนก่อนที่เขมรแดงจะเรืองอำนาจ เขาใช้ชื่อในการปฏิวัติว่าดุช ซึ่งได้มา
จากชื่อของเด็กนักเรียนที่อยู่ในโอวาทคนหนึ่งในหนังสือสำหรับเด็ก โดยกล่าวต่อศาลว่า ‘ผมอยากเป็นเด็กที่มีระเบียบวินัย เคารพครู และทำแต่สิ่งดี ๆ’ 

การอยู่ในโอวาททำให้คัง เก็ก เอียว กลายเป็นผู้ปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้นำเขมรแดง ระดับสูง ซึ่งข้อแก้ตัวหลักของเขาคือ เขาเองก็รักตัวกลัวตายเช่นกันหากไม่ทำตามคำสั่ง แต่การทรมานนักโทษในเรือนจำอย่างจริงจังด้วยสารพัดวิธีการอันโหดเหี้ยมของเขา ทำให้
ข้อแก้ตัวนั้นตกไป ภายใต้การบัญชาของคัง เก็ก เอียว ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน ความหุนหันพลันแล่นและความหยิ่งผยองของเขาในระหว่างพิจารณาคดีไม่ใช่ลักษณะของเด็กบริสุทธิ์ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย”

ชาวกัมพูชารู้จักเขาในฐานะบุคคลที่โหดเหี้ยมที่สุดซึ่งคุมเรือนจำหลักในขณะนั้น และเป็น ผู้เขียนคำสั่ง เช่น “ใช้วิธีทรมานด้วยความร้อน ต่อให้ตายก็ช่าง” หรือเขียนที่ริมกระดาษ ข้างรายชื่อเด็กจำนวน 17 คนว่า “ฆ่าทั้งหมด” แต่สิ่งที่ย้อนแย้งกันคือเขากลับกล่าวในภายหลัง
ว่า การทรมานสอนให้เขารู้ว่าไม่ควรเชื่อถือคำสารภาพที่มาจากการข่มขู่ เพราะสิ่งที่สารภาพ จะเป็นจริงเพียง 40% เท่านั้น

ขณะที่ถูกจับกุม คัง เก็ก เอียว พยายามแสดงให้เห็นว่าเขาได้เปลี่ยนไปแล้ว “ผมคิดว่าชีวประวัติ ของผมเป็นสิ่งที่คล้ายกับนักบุญพอล” คัง เก็ก เอียว บอกกับเน็ต เทเยอร์ นักข่าวชาวอเมริกัน ที่บอกเล่าเรื่องราวประหลาดนี้ใน Far Eastern Economic Review “ผมรู้สึกเสียใจอย่างมาก
เกี่ยวกับการฆ่าและเรื่องราวในอดีต ผมแค่อยากจะเป็นคอมมิวนิสต์ที่ดีในตอนนั้น ตอนนี้ชีวิต อีกครึ่งที่เหลือของผม ผมอยากรับใช้พระเจ้าโดยการทำงานของพระเจ้าเพื่อช่วยเหลือผู้คน” แต่ความจริงแล้ว ดูเหมือนเขาจะใช้เวลาว่างส่วนมากในร้านอาหารสุดหรู

ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดใส่กัมพูชาอย่างหนักและป่าเถื่อน ตามนโยบาย ที่ริเริ่มโดยเฮนรี คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในขณะนั้น ซึ่งได้รับการยกย่องในหมู่นักการเมืองชั้นสูงของสหรัฐฯ ในปัจจุบันแม้จะมีข้อครหาจากเรื่อง
อาชญากรรมสงครามก็ตาม

เวียดนามเป็นประเทศที่อยู่ติดกับกัมพูชา ซึ่งเวียดนามเหนือใช้กัมพูชาเป็นเส้นทางในการต่อสู้ กับศัตรูทางใต้ในช่วงที่เวียดนามเหนือทำสงครามกับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้กัมพูชาแทบจะยับเยิน ราบคาบ เมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้น เขมรแดงจึงเข้ายึดครองและใช้ประโยชน์ จากสถานการณ์นี้ เขมรแดงได้ปกครองอยู่จนถึงปี 2522 หลังจากนั้นจึงถูกเวียดนามล้มล้าง และก่อตั้งการปกครองในปัจจุบันซึ่งเป็นแบบเกือบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น

หนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ประชาชนมากถึง 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใน เมืองหลวงถูกต้อนให้ออกจากเมืองไปใช้แรงงานในชนบท หลายพันคนเสียชีวิตในระหว่าง การอพยพ ซึ่งดำเนินการด้วยวิธีที่เร่งรีบไร้ความปรานี และบังคับให้ประชาชนเหล่านั้นทิ้ง ทรัพย์สินทั้งหมดไว้เบื้องหลัง เด็ก ๆ ถูกพรากจากพ่อแม่ คนแก่และคนป่วยหลายคนเสียชีวิต ระหว่างทาง ประชาชน 1.7 ล้านคนเสียชีวิตจากการประหารชีวิต การทรมาน ความอดอยาก การเจ็บป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา และการทำงานหนักเกินไป (ภาพยนตร์เรื่อง “The Killing Fields” ซึ่งควรค่าแก่การรับชมก็สร้างจากเหตุการณ์นี้)

ขบวนการคอมมิวนิสต์เขมรแดงเชื่อว่า นี่คือกระบวนการปรับระดับ ซึ่งจะเปลี่ยนประเทศให้ เป็นสังคมชนบทที่ไร้ชนชั้น กลุ่มเขมรแดงเลิกล้มระบบเงินตรา ตลาดเสรี การเข้ารับการศึกษา ตามปกติ การสวมเสื้อผ้าแบบชาวต่างชาติ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรม ดั้งเดิม ไม่มีระบบขนส่งมวลชนหรือรถส่วนตัว ไม่มีที่ดินส่วนตัว และไม่มีความบันเทิงแบบ ก่อนการปฏิวัติ ผู้คนต้องทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันและต้องทำพิธีแต่งงานแบบรวมหมู่กับคู่ครอง ที่พรรคเลือกให้ การแสดงความรักต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นเรื่องต้องห้าม ผู้ที่ไม่เห็นด้วยและ ผู้ที่ร้องเรียนนับพันถูกยิงศีรษะจากด้านหลัง

การกระทำอันทารุณของเขมรแดงมาถึงจุดสิ้นสุดเมื่อเดือนมกราคมปี 2522 เมื่อทหาร เวียดนาม (ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากสหภาพโซเวียต) และกองทัพแนวร่วม สามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (ประเทศกัมพูชา) ต่อสู้กันมาจนถึงกรุงพนมเปญ

จากนั้น กลุ่มเขมรแดงจึงหนีไปทางตะวันตกและก่อตั้งตนเองขึ้นใหม่ใกล้กับชายแดนไทย โดยสวมรอยเป็นผู้ลี้ภัย ยูนิเซฟ หน่วยงานสหประชาชาติ และองค์การนอกภาครัฐอื่น ๆ ของ ชาติตะวันตกหลงเชื่อการหลอกลวงของกลุ่มขบวนการสังหารกลุ่มนี้ จึงมอบอาหารและการดูแล ทางการแพทย์ จนทำให้พวกเขาเข้มแข็งมากพอที่จะต่อสู้ในวันต่อไป

สหรัฐฯ ซึ่งยังคงซวนเซจากการปราชัยด้วยน้ำมือของเวียดนามเหนือ ปฏิบัติตามสุภาษิตโบราณ ที่ว่า “ศัตรูของศัตรูคือมิตร” โดยโน้มน้าวให้สหประชาชาติมอบที่นั่งของกัมพูชาใน สหประชาชาติแก่กลุ่มเขมรแดง ธงของกลุ่มเขมรแดงโบกสะบัดอยู่นอกสำนักงานใหญ่ของ
สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 2522 ถึง 2533 เขมรแดงได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทน ที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงกลุ่มเดียวของกัมพูชา ทุกประเทศในยุโรปตะวันตกลงมติเห็นชอบ ยกเว้นสวีเดน กลุ่มโซเวียตลงมติคัดค้าน แต่ล้มเหลวในการพยายามขัดขวางฝั่งตะวันตก

นโยบายนี้ดำเนินอย่างต่อเนื่องในสมัยประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน จนกระทั่งเมื่อประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.เอช. บุช เข้ารับ ตำแหน่ง ยุคแห่งการอดกลั้นอันโหดร้ายนี้จึงสิ้นสุดลง

แม้ว่าเรื่องตลกร้ายดังกล่าวจะปิดฉากลง แต่เขมรแดงก็ยังคงดำรงอยู่ต่อจนถึงปี 2533 ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่ผู้นำของเขมรแดงเสียชีวิต ถูกจับกุมโดยรัฐบาลที่เวียดนามให้การสนับสนุน หรือไม่ก็ แปรพักตร์ไป เช่น ฮุน เซน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและในปัจจุบัน

ในขณะเดียวกันกับที่สหรัฐฯ และยุโรปสนับสนุนให้รัฐบาลเผด็จการเขมรแดงมีที่นั่งใน องค์การสหประชาชาติ ปัญญาชนและนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายจำนวนมากในฝั่งตะวันตกก็ให้ การสนับสนุนเช่นกัน โดยมองว่าเขมรแดงเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ใสสะอาด ซึ่งจะกวาดล้าง ระเบียบเก่าออกไป พวกเขาเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ทั้ง ๆ ที่มีการเผยแพร่เกี่ยวกับการฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์โดย New York Times, Washington Post, Le Monde และ International Herald Tribune ในคอลัมน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ผมเขียน (ซึ่งสื่ออื่น ๆ ไม่มากก็น้อยไม่ได้ ให้ความสนใจเรื่องนี้)

ไม่นานหลังจากสหรัฐฯ ยุตินโยบายสนับสนุนเขมรแดง สมาชิกถาวร 5 ประเทศของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ทำให้โลกต้องประหลาดใจด้วยการประกาศว่า กัมพูชา จะกลายเป็นรัฐในอารักขาของสหประชาชาติ กองทัพที่กำลังต่อสู้กันจะถูกปลดอาวุธ และจะมี การเลือกรัฐบาลใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยโดยการลงคะแนนที่เป็นธรรม สหประชาชาติไม่เคยทำ
อะไรเช่นนี้มาก่อน

ในเดือนตุลาคมปี 2534 คณะสมาชิกของกัมพูชาได้พบปะกับตัวแทนจาก 19 ประเทศ ที่กรุงปารีส เพื่อลงนามในข้อตกลงสันติภาพ เจมส์ เบเกอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศในสมัยประธานาธิบดีบุช กล่าวกับที่ประชุมว่า “สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้มีความพิเศษ และการเรียกร้องการสนับสนุนจากนานาชาติน่าสนใจ คือความทุกข์ทรมานอันแสนสาหัส ที่ประชาชนต้องแบกรับ”

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ก็เลิกสนใจภายในเวลาไม่นานและหันไปหมกมุ่นอยู่กับสงครามครั้งแรก ในอิรัก หลังจากนั้น บิล คลินตัน ประธานาธิบดีคนถัดมาก็ดูเหมือนจะเพิกเฉยหรือไม่ค่อยใส่ใจ จนกระทั่งสหประชาชาติโน้มน้าวให้รัฐบาลฮุน เซน ยอมให้มีศาลอาชญากรรมสงครามสำหรับ
กัมพูชาและผู้พิพากษาที่ได้รับคัดเลือกจากสหประชาชาติ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความยุติธรรม โดยศาลอาชญากรรมสงครามสำหรับกัมพูชานี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 เจ็ดปีหลังจากการสิ้นสุดลงของเขมรแดง

ในที่สุด ทางการกัมพูชาก็ได้จับกุมสหายดุชและนายเอียง ซารี (รัฐมนตรีต่างประเทศของ เขมรแดง) นางเอียง ธิริธ (อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกิจการสังคม) ซึ่งเป็นภรรยาของนายเอียง ซารี และผู้นำระดับสูงอีก 2 คน ได้แก่ นายนวน เจีย และนายเขียว สัมพัน ทั้งหมดถูกตัดสินว่า มีความผิด ยกเว้นนางเอียง ธิริธที่ได้รับการปล่อยตัวเพราะเป็นโรคอัลไซเมอร์

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ โลกภายนอกสนใจหรือแม้กระทั่งรับรู้เรื่องนี้มากเพียงใด? เขมรแดง ได้เลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ เราบางคนถามว่า จะมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โลกเพิกเฉย จนกระทั่งสายเกินไปแบบนี้อีกหรือไม่? ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา
เมื่อปี 2537 เกิดขึ้นและหายไปพร้อมกับความละอายใจเพียงเล็กน้อยที่โลกภายนอกแสดงออก ดังที่มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เคยกล่าวไว้ว่า “เราต้องทำลายความเงียบยามค่ำคืน … ไม่มีคำโกหกใด อยู่ได้ตลอดกาล … ความจริงที่ฝังกลบลงดินจะต้องปรากฏอีกครั้ง”

หมายเหตุ: นักเขียนเป็นนักเขียนบทความและผู้วิจารณ์เกี่ยวกับการต่างประเทศของ International Herald Tribune เป็นเวลา 17 ปี
เยี่ยมชมเว็บไซต์ของนักเขียน: www.jonathanpowerjournalist.com [IDN-InDepthNews – 13 September 2020]

ภาพรวมหลุมศพจำนวนมากที่ทุ่งสังหารเจืองแอก โดยมีหัวหน้าทุ่งสังหารอยู่ทางซ้าย
ที่มา: Wikimedia

NEWSLETTER

STRIVING

MAPTING

PARTNERS

Scroll to Top