Home – SDGs for All

A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC

Watch out for our new project website https://sdgs-for-all.net

COVID-19: ควรจะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากกว่าสุขภาพของแรงงานข้ามชาติหรือไม่?

share
tweet
pin it
share
share

จากมุมมองของ Kalinga Seneviratne

ซิดนีย์ (IDN) – ในหลาย ๆ เมืองได้อธิบายความหมายของการเคลื่อนย้ายแรงงานว่าเป็นการค้าทาสแห่งศตวรรษที่ 21 และวิกฤติ Covid-19 ได้เผยให้เห็นถึงความเป็นจริงทั้งหมดนี้ แรงงานข้ามชาติชาวยุโรปตะวันออกในยุโรป แรงงานก่อสร้างที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ต้องอยู่อย่างอด ๆ อยาก ๆ ในตะวันออกกลาง มีการปิดห้องพักหลายร้อยหลังของชาวเอเชียใต้ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติที่อาจจะติดเชื้อ Covid-19 ในสิงคโปร์ มีการแสดงให้เห็นถึงการขาดความเห็นอกเห็นใจต่อแรงงานข้ามชาติมากมายของเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจในทุกวันนี้

การให้สัมภาษณ์ในคอลัมน์ Inside Story ของ Al Jazeera ของ Thulsi Narayanasamy หัวหน้าฝ่ายสิทธิแรงงานจากศูนย์ธุรกิจและทรัพยากรสิทธิมนุษยชน (BHRRC) ได้แย้งว่าการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้เผยให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันเชิงโครงสร้างซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาแรงงานข้ามชาติทั่วโลก

ธนาคารโลกได้กล่าวว่าการส่งเงินกลับบ้านทั่วโลกจะลดลงกว่า 100 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้  แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ได้รับเงินค่าจ้างของตนเป็นเวลากว่าสองเดือนและ “พวกเขากำลังเผชิญหน้ากับความอดอยากที่เลวร้ายที่สุดที่จะเป็นไปได้” เธอกล่าวอ้าง และเสริมว่า “พวกเขาถูกปล่อยทิ้งให้ไม่มีอาหารและไม่สามารถเข้าถึงอาหารและต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้พวกเขามีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ง่ายมาก”

เธอได้ชี้ให้เห็นว่าแรงงานอย่างในกาตาร์และคูเวตอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรกและคับแคบนำมาซึ่งไวรัส แทนที่จะรับผิดชอบดำเนินการปรับปรุงสภาพที่พักอาศัยของแรงงานให้ดีขึ้น แต่หน้าที่ความรับผิดชอบขณะนี้กลับเป็นการส่งให้ประเทศต่าง ๆ นำคนของตนกลับประเทศ

เป็นเพราะสภาพเงื่อนไขเหล่านี้ที่มีส่วนทำให้เกิดการระบาดของ Covid-19 รอบที่สองในสิงคโปร์ หนังสือพิมพ์ ‘Today’ ได้รายงานว่าเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อ Covid-19 จำนวน 728 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พ.ค.) ในการระบาดรอบที่สองนี้เป็นแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานจากอินเดียและบังคลาเทศซึ่งทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง พวกเขาอาศัยอยู่ในห้องพักที่มีคนอาศัยอยู่จำนวนมากซึ่งมีคนอาศัยอยู่ตั้งแต่ 10-20 คนในห้องเดียวกัน

เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ได้ลงโทษแรงงานที่ฝ่าฝืนกฎการรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างหนัก รวมถึงการเพิกถอนใบอนุญาตทำงานและห้ามทำงานในสิงคโปร์ แต่กลุ่มทนายของแรงงานข้ามชาติจากองค์กรมนุษยธรรมด้านเศรษฐกิจการย้ายถิ่น (Home) ได้ออกมากล่าวต่อต้านการดำเนินการลงโทษที่ “รุนแรงและไม่เหมาะสม” และได้มีการเรียกร้องให้มีการสื่อสารที่ดีขึ้นและปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเพื่อช่วยให้แรงงานต่างชาติสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้ ตอนนี้ทางรัฐบาลได้ให้สัญญาว่าจะกำหนดให้นายจ้างจัดหาที่พักอาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับแรงงานข้ามชาติในอนาคต

ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์บางส่วนเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย และแรงงานราคาถูกที่หลั่งไหลมาจากเอเชียใต้จะช่วยรักษาต้นทุนของการก่อสร้างคอนโดมิเนียมให้อยู่ในระดับต่ำ การจัดหาที่พักอาศัยแก่แรงงานก่อสร้างของตนในสภาพต่ำกว่ามาตรฐานช่วยลดต้นทุนของหน่วยคอนโดมิเนียมสำหรับชาวสิงคโปร์และผู้ซื้อชาวเอเชียอื่น ๆ ได้ ในขณะที่ให้ผลกำไรแก่นักพัฒนาในระดับสูง

องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมด้วยฮิวแมนไรตส์วอตช์ Migrant-Rights.org และ BHRRC ได้ส่งหนังสือถึงหกประเทศอาหรับรวมทั้ง ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 17 เมษายนเรียกร้องให้มีการป้องกันสิทธิของแรงงานข้ามชาติในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาด โดยระหว่างประเทศอาหรับแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในรัฐอาหรับ 23 ล้านคนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหกประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากเอเชียและประเทศอาหรับและแอฟริกาที่ยากจนกว่า

 “กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติในเกือบทุกภาคส่วนสำคัญอย่างมากเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต แต่พวกเขายังไม่สามารถป้องกันแรงงานข้ามชาติ และยังไม่สามารถปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติด้วยศักดิ์ศรีและความเคารพที่พวกเขาควรได้รับได้โดยสิ้นเชิง” Lynn Maalouf ผู้อำนวยการการวิจัยตะวันออกกลางขององค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวในถ้อยแถลงว่า “การแพร่ระบาดนี้ได้เผยให้เห็นสถานะที่เปราะบางอย่างที่สุดของแรงงานข้ามชาติมากขึ้นจากรายงานผู้ติดเชื้อ Covid-19 จำนวนมากเป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่มชุมชนของแรงงานข้ามชาติ”

แรงงานข้ามชาติจากประเทศยุโรปตะวันออกที่ยากจนกว่าที่ทำงานในสหภาพยุโรปยังต้องเผชิญกับสภาพที่คล้ายกันด้วย สำนักข่าว Guardian ของลอนดอนรายงานว่าเมื่อสเปนได้กำหนดให้มีการปิดประเทศในช่วงกลางเดือนมีนาคมแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมถูกปล่อยให้ไม่สามารถเข้าถึงอาหารและน้ำได้หรือเข้าถึงได้อย่างจำกัด นอกจากนี้แรงงานยังกลัวว่าพวกตนไม่ได้รับการป้องกันจากไวรัส ทั้งในที่พักที่ไม่ถูกสุขอนามัยและเมื่อต้องทำงานเคียงข้างกันในฟาร์ม

Clare Carlile จาก Ethical Consumer องค์กรรณรงค์สนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติในสหภาพยุโรปมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศอังกฤษได้ชี้ให้สำนักข่าว Guardian เห็นว่าสถานการณ์เป็นผลมาจากการเพิกเฉยต่อแรงงานมาเป็นเวลาหลายปี “พวกเขาเข้ามาโดยกองทัพสเปนในเดือนมีนาคมในทศวรรษที่ 18 และบังคับให้อยู่กับที่ไม่ไปไหน แม้ว่าในบางพื้นที่บริการน้ำประปาจะอยู่ห่างไปหลายกิโลเมตร”

ในเวลานี้ด้วยความหวาดกลัวต่อ  Covid-19 บริการรถประปาเข้ามาสองครั้งต่อสัปดาห์ “หากคุณอยู่ที่ทำงานและพลาดมัน คุณจะต้องเดินไปเอาน้ำเองในระยะทางหลายกิโลเมตรหลังจากที่ทำงานหนักมาทั้งวัน” เธอกล่าว “ความล้มเหลวของนายจ้างในการจัดหาสิทธิขั้นพื้นฐานเป็นเวลาหลายปีได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่ย่ำแย่มากสำหรับผู้อาศัยในชุมชน ตอนนี้การแพร่ระบาดได้ผลักให้สถานการณ์ไปอยู่ในจุดวิกฤติแล้ว”

BHRRC กล่าวว่ามาเลเซียผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดของโลกได้เห็นยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ที่ภูมิภาคเหล่านี้กลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของ Covid-19 คำสั่งซื้อได้หลั่งไหลไปยังบริษัทที่ก่อนหน้านี้มีชื่อในแบล็กลิสต์ของการหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ หนึ่งในบริษัทดังกล่าวคือ WRP Asia Pacific ซึ่งทางสหรัฐอเมริกากล่าวว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงานอีกต่อไป

เมื่อเร็ว ๆ นี้ระบบบริการสุขภาพของประเทศอังกฤษ (NHS) ได้สั่งซื้อถุงมือทางการแพทย์จำนวน 88.5 ล้านชิ้นจาก Supermax บริษัทของมาเลเซียที่ถูกขึ้นแบล็กลิสต์เมื่อปีที่แล้ว (ตามการอ้างอิงของ BHRRC) สำหรับการสรรหาแรงงานข้ามชาติซึ่งมีการรายงานว่ามีการขูดรีดค่าธรรมเนียมการสรรหาพนักงานที่ต้องจ่ายเกินกว่าที่กำหนดให้กับตัวแทน การยึดหนังสือเดินทาง การที่ต้องทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันถึง 30 วันโดยไม่มีวันพัก สภาพการทำงานและสภาพที่พักที่ไม่ดี และการหักค่าแรงสำหรับการออกมาพูดถึงเงื่อนไขการทำงาน

Supermax ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว แต่นักกิจกรรมได้เรียกร้องให้รัฐบาลนำเข้าถุงมือทางการแพทย์จากมาเลเซียเพื่อคุ้มครองหน้าที่ความรับผิดชอบของความเป็นทาสสมัยใหม่ของพวกเขาเพื่อเป็นการทำให้มั่นใจถึงการป้องกันแรงงานที่ผลิตถุงมือยางเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ Covid-19

ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีแรงงานข้ามชาติมากกว่า 4 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศพม่า กัมพูชาและลาว ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 รัฐบาลของไทย พม่าและกัมพูชาได้แนะนำให้แรงงานข้ามชาติพักอยู่กับที่ไม่เดินทางไปไหนและเลี่ยงการเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตน แต่อย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติจำนวนมากถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องจำใจกลับไป เนื่องจากการยังอยู่ในประเทศไทยสำหรับหลาย ๆ คนหมายถึงต้องอยู่อย่างไม่มีงานทำ ไม่มีอาหารและเสี่ยงต่อการเป็นคนไม่มีที่พักอาศัย

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ได้กระตุ้นเตือนให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศต่าง ๆ ของประเทศต้นทางและประเทศปลายทางให้ลงมือดำเนินการเพื่อป้องกันและส่งเสริมสวัสดิภาพของแรงงานข้ามชาติและครอบครัวของพวกเขาโดยทันที แรงงานข้ามชาติจำนวนมากถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเนื่องจากแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ในประเทศเป็นแรงงานที่ไม่มีเอกสารหรือขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเนื่องจากพวกเขาเป็นแรงานนอกระบบ MMN กล่าว

Narayanasamy โต้แย้งว่าจะต้องเปลี่ยนความสนใจจากการให้ความสนใจต่อการส่งเงินกลับบ้านจะหยุดชะงักลงเป็นให้ความสนใจต่อสวัสดิภาพของแรงงานข้ามชาติ “คำถามที่แท้จริงคือ ต้นทุนของการส่งเงินกลับบ้านของคนที่ยังคงต้องทำงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดนั้นคืออะไร” เธอชี้ให้เห็นว่า “ผู้คนต่างกังวลถึงสวัสดิภาพของสมาชิกในครอบครัวของตนที่อยู่ห่างไกลกันและอาจจะมีเงินไม่พอที่จะจ่ายค่าโทรศัพท์เพื่อติดต่อกับคนในครอบครัวของเขา…การสื่อสารได้รับผลกระทบในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

แทนที่จะให้ความสนใจต่อตัวเลขของเงินที่ถูกส่งกลับบ้าน สื่อจำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามว่าประเทศที่ส่งเงินไปอย่างอินเดียได้กดดันประเทศเจ้าบ้านของแรงงานมากพอให้ทำให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานและได้ทำให้มั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับเงินค่าจ้างหรือไม่

 “เราได้เห็นสถานการณ์ในสิงคโปร์ที่แรงงานข้ามชาติติดเชื้อและนั่นควรจะเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับครอบครัวของพวกเขา” เธอกล่าว “หากคุณไม่สามารถพูดคุยกับลูก ๆ ของคุณเพื่อบอกว่าคุณเป็นอย่างไรบ้าง ฉันคิดว่าความกังวลเกี่ยวกับการส่งเงินเหล่านี้และผลกระทบทางเศรษฐกิจควรจะเป็นเรื่องรอง”

[IDN-InDepthNews – 13 พฤษภาคม 2020]

รูป: การขนย้ายแรงงานข้ามชาติใหม่ไปยังโดฮา กาตาร์ แหล่งที่มา: tellmemoreblogger.com

NEWSLETTER

STRIVING

MAPTING

PARTNERS

Scroll to Top