Home – SDGs for All

A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC

Watch out for our new project website https://sdgs-for-all.net

แปซิฟิกใต้แสวงหาการดำเนินการเพื่อแก้ไข “ความกลัว” ต่อสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่ที่สาเหตุของปัญหา

share
tweet
pin it
share
share

การวิเคราะห์โดย Kalinga Seneviratne

กรุงเทพฯ (IDN) – เมื่อทำการชี้ให้เห็นว่าประเทศขนาดเล็กในแปซิฟิกใต้สามประเทศ – ประเทศคิริบาส ตูวาลู และสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ – “มีชะตากรรมที่จะต้องจมอยู่ใต้คลื่นไปทั้งหมด” นายกรัฐมนตรี Josaia Bainimarama แห่งประเทศฟิจิได้ยื่นคำร้องไปยังประชาคมระหว่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือต่อประเทศฟิจิและรัฐเกาะแปซิฟิกใต้อื่น ๆ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็น “ความหวาดกลัวของเหตุการณ์สภาพอากาศขั้นรุนแรง”

ในขณะที่ทำการกล่าวในงานเปิดเซสชั่นการประชุมของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) (17-19 พฤษภาคม) ในฐานะประธานนอกสถานที่ Bainimarama กล่าวว่า: “ประวัติศาสตร์จะทำการตัดสินต่อประเทศอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงเป็นอย่างยิ่งหากพวกเขาทิ้งให้ประเทศเล็ก ๆ ที่มีความเสี่ยงต้องรับชะตากรรมของพวกเขาเองโดยไม่เสนอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เราไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่เป็นพวกเขาต่างหากที่ทำ”

เขากล่าวกับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกว่า 65 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าประเทศอุตสาหกรรม “จำเป็นต้องใช้ส่วนหนึ่งของความร่ำรวยที่พวกเขาได้มากจากการปล่อยคาร์บอนเพื่ออุตสาหกรรมของพวกเขาในการช่วยเหลือต่อประเทศที่ยังไม่ร่ำรวยเท่ากับพวกเขาและกำลังรับภาระของวิกฤติที่พวกเขาสร้างขึ้น”

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ปีนี้ พายุหมุนที่เข้าถึงเขตแผ่นดินที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาได้โถมเข้าสู่หมู่เกาะฟิจิด้วยความเร็วลมมากกว่า 300 กม. ต่อชั่วโมง คร่าชีวิตผู้คน 44 คนและทำลายบ้านเรือนมากกว่า 40,000 หลังและโรงเรียน 229 แห่ง ธนาคารโลกได้ประมาณค่าความเสียหายรวมประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์

Bainimarama กล่าวว่า “เหตุการณ์ทางสภาพอากาศร้ายแรงเพียงครั้งเดียวซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเราอาจทำลายเศรษฐกิจของเราได้ไปในอีกหลายปีที่จะมาถึง … และทำลายผลประโยชน์ทั้งหมดจากการพัฒนาซึ่งเราได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างขึ้นมา” ซึ่งเป็นการเสริมข้อความอันน่าเศร้าที่ว่าเป้าหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) จะไม่มีความหมายใด ๆ ในแปซิฟิกใต้หากปราศจากความช่วยเหลืออย่างพร้อมเพรียงกันจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อทำการช่วยเหลือประเทศเกาะที่อ่อนแอขนาดเล็กในการต่อสู้กับภัยคุกคามเหล่านี้ 

“สำหรับการพูดคุยทั้งหมดของเราต่อวาระ 2030 ประเทศ เช่น ฟิจิ มีความหวังน้อยหรือไม่มีเลยที่จะประสบความสำเร็จต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหากปราศจากความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากประชาคมโลก” เขากล่าวเตือน

“สิ่งที่ผู้นำเกาะแปซิฟิกได้เน้นย้ำคือประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีทรัพยากรมากมายจำเป็นต้องรับความรับผิดชอบส่วนที่ใหญ่กว่าในด้านการจัดการในการให้ความร่วมมือกับประเทศเหล่านี้เพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหา” Hamza Ali Malik หัวหน้าฝ่ายนโยบายและวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคของ ESCAP กล่าวกับ INPS ในการสัมภาษณ์

การสร้างความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็นหนึ่งสามเสาหลักซึ่ง ESCAP มุ่งเน้นสำหรับการประสบความสำเร็จต่อ SDGs Malik กล่าวว่า “เศรษฐกิจ (แปซิฟิก) ของพวกเขาได้รับผลกระทบในระดับใหญ่ (และ) ภัยพิบัติหนึ่งครั้งจะทำให้พวกเขาย้อนหลังไปเป็นเวลาหลายปีในแง่ของการพัฒนา” เขากล่าว

“พวกเขาไม่มีความสามารถในการจัดการกับสิ่งเหล่านี้ เช่น การสรรหาอาหารต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เราจำเป็นต้องสร้างกรอบการพัฒนาซึ่งมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียที่จำเป็นระหว่างความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจ”

เพื่อแสดงให้เห็นว่าฟิจิไม่ได้อยู่เฉยและเพียงแต่รอความช่วยเหลือจากนานาชาติให้เข้ามาสู่พวกเขา รัฐบาลของ Bainimarama ได้จัดงานประชุมข้างเคียงซึ่งได้รับการเข้าร่วมอย่างดีในช่วง ESCAP เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างความยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามของการก่อการร้ายและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

Kaveh Zahedi รองกรรมการบริหารของ ESCAP กล่าวในงานประชุมข้างเคียงว่า “การสร้างความยืดหยุ่น (ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ) นั้นไม่ใช่ตัวเลือกแต่เป็นสิ่งจำเป็น” เขาแนะนำว่าการบรรเทาภัยพิบัตินั้นไม่ควรเป็นความรับผิดของกระทรวงเดียวเพียงเท่านั้น แต่ควรได้รับการกระจายไปในทุกกระทรวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐที่เปราะบาง เช่น แปซิฟิกใต้

เขาระบุว่า “เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการคิด” โดยชี้ว่าภัยพิบัติจากพายุหมุนและรูปแบบอากาศที่คล้ายคลึงกันนั้นไม่จำกัดเพียงแต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่มันมีลักษณะของการข้ามชายแดน

ในการนำเสนอ ดร. Andi Eka Sakya หัวหน้าองค์กรอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศและธรณีฟิสิกส์ของอินโดนีเซียระบุว่า เพราะว่าอินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่เกิดขึ้นจากเกาะเล็ก ๆ รัฐบาลดังกล่าวจึงมีประสบการณ์อย่างเพียงพอในการจัดการกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยพิบัติซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และดังนั้นแล้วขอบเขตของความร่วมมือทางใต้–ใต้ภายในภูมิภาคในด้านนี้มีความพร้อมแล้ว

เขาอธิบายว่าอินโดนีเซียได้ใช้วิธีการใดในการช่วยเหลือฟิจิอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับผลของพายุหมุนและการก่อสร้างซ่อมแซมหลังจากพายุหมุนในเดือนกุมภาพันธ์ และอินโดนีเซียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อเร็ว ๆ นี้กับ ESCAP สำหรับความร่วมมือใต้-ใต้ในด้านนี้ “อินโดนีเซียมีประสบการณ์อย่างมากมายในการจัดการภัยพิบัติ (และ) เราได้พัฒนาแผนงานกลยุทธ์ระยะยาว” เขากล่าวเสริมว่าในเดือนเมษายน อินโดนีเซียได้ปรึกษาเรื่องการสร้างศูนย์กลางแห่งแปซิฟิกสำหรับการอำนวยความสะดวกต่อการบรรเทาภัยพิบัติกับ ESCAP

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศไทย กล่าวกับที่ประชุมว่าหลังจากสึนามิเอเชียในปี 2005 ประเทศไทยได้สร้างเสริมประสบการณ์และทรัพยากรในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เขากล่าวว่า “เราทราบถึงความต้องการสำหรับความร่วมมือทางภูมิภาค” และ “เราต้องมุ่งเน้นในโครงการเชิงรุกมากขึ้น แทนที่จะเป็นเชิงรับ”

Inia Seruiratu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร การเดินเรือและการพัฒนาชนบทของฟิจิกล่าวว่าการสร้างระบบที่ยืดหยุ่นต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและรูปแบบทางอากาศนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จต่อ SDGs ในแปซิฟิกใต้ “เราจำเป็นต้องแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยน” เขากล่าว “เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เราจำเป็นต้องยอมรับถึงภัยพิบัติและความเสี่ยงในด้านสภาพอากาศให้เป็นเรื่องปกติแบบใหม่สำหรับตัวเรา”

ฟิจิได้ร้องขอให้มีการรวมการประเมินความเสี่ยงทางภัยพิบัติเข้าไปยังแผน SDG และเพิ่มมันไปยัง SDG เพื่อเป็นเป้าหมายหมายเลข 18

ในการนำเสนอต่องานประชุมข้างเคียงของฟิจิ ท่านรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ในขณะที่การมุ่งเน้นต่อการลดความยากจนใน SDG นั้นมีความสำคัญ แต่มันจำเป็นต้องได้รับการปรับให้สมดุลกับการจัดการความเสี่ยงทางด้านสภาพอากาศ

กล่าวในการอภิปรายแบบครบองค์ Maatia Toafa รองนายกรัฐมนตรีของตูวาลู กล่าวว่า “ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้นยิ่งใหญ่สำหรับรัฐขนาดเล็ก เช่น ตูวาลู นอกเหนือไปจากผลกระทบทางกายภาพของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศซึ่งประเทศได้ประสบอยู่ เรากำลังจัดการกับความยากลำบากในการเข้าถึงกองทุนสภาพอากาศโลก … เพื่อสร้างความสามารถที่ยืดหยุ่นโดยการทำให้โครงสร้างพื้นฐานสำคัญสามารถรับมือกับสภาพอากาศได้”

โดยการชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของเขาได้จัดตั้งกองทุนการอยู่รอดของตูวาลูด้วยการมอบเงินทุน 5 ล้านดอลลาร์เพื่อเป็นเงินทุนต่อการกู้คืนและการฟื้นฟูจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอากาศและภัยพิบัติ เขากล่าวว่า “ภายหลังผลกระทบอันร้ายแรงของพายุหมุนเขตร้อน แพม ในปี 2015 เราได้เรียนรู้ว่าเราต้องการเงินทุนนี้เพราะเราไม่มีประกันภัยที่เหมาะสม” และเชิญชวนประเทศสมาชิก ESCAP ให้บริจาคไปยังกองทุนนี้

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ อุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหมู่เกาะแปซิฟิกขนาดเล็กคือการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสูงสำหรับความต้องการทางด้านพลังงาน ดังเช่นที่ระบุในรายงานซึ่งออกโดยการประชุม ESCAP ด้านปัญหาการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งกระทบต่อประเทศเอเชียแปซิฟิกซึ่งมี “ความต้องการพิเศษ” (CSN)

รายงานซึ่งได้ชื่อว่า CSN ได้ชี้ให้เห็นว่าขณะที่ประเทศเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกใต้ได้ประสบกับความเสียเปรียบอย่างรุนแรงเนื่องจากขนาดที่เล็ก ความห่างไกลซึ่งลิดรอนการเข้าถึงตลาดหลักได้อย่างง่ายดาย ฐานการส่งออกที่จำกัดและปัญหาทางสภาพแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นประจำ (เช่น พายุหมุน) อุปสรรคหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพวกเขาคือการพึ่งพาอย่างหนักต่อเชื้อเพลิงน้ำมันที่นำเข้าเพื่อการผลิตไฟฟ้า

เนื่องด้วยจำนวนแสงอาทิตย์ที่เพียงพอตลอด 365 วัน และเกาะเหล่านี้รายรอบด้วยทะเลและลมที่เกิดขึ้นจากทะเล จึงมีความเป็นไปได้ที่เกาะเหล่านี้จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพและลม แต่การลงทุนในแหล่งพลังงานทดแทนดังกล่าวในประเทศเกาะแปซิฟิกส่วนใหญ่นั้นต่ำมาก

แม้แต่ความพยายามในการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมเองก็ได้รับผลกระทบจากพายุหมุนซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ดังที่ Masakazu Hamachi รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นกล่าวในการอภิปรายว่า แม้ว่าตองกาจะติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังลม แต่พายุหมุนก็ได้พัดใบพัดออกไป

ในขณะเดียวกัน ในการพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีของฟิจิและเลขาธิการบริหาร ESCAP ดร. Shamshad Akther ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงโดยคร่าวที่จะสร้างศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในฟิจิเพื่อมอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติและการสร้างความสามารถในรัฐขนาดเล็กที่เปราะบาง [IDN-InDepthNews – 20 พฤษภาคม 2016]

NEWSLETTER

STRIVING

MAPTING

PARTNERS

Scroll to Top